ภาพ วัฎจักรออกซิเจน
ที่มา : http://water.me.vccs.edu

            วัฏจักรน้ำและวัฏจักรออกซิเจน  มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน เพราะต่างประกอบด้วยโมเลกุลออกซิเจนโดยทั่วไป O2ได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสง  แล้วจึงเปลี่ยนเป็นน้ำในขั้นตอนการหายใจที่มีการใช้ O2

          ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศประมาณ 20.9% การหมุนเวียนของออกซิเจนจะเกิดควบคู่ไปกับคาร์บอน ในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสงของสิ่งมีชีวิต จะมีการผลิตก๊าซออกซิเจนเข้าสู่บรรยากาศในขณะที่มีการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อสิ่งมีชีวิตหายใจ ก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศจะถูกใช้ ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกผลิตออกมา

ในมหาสมุทร แพลงค์ตอนพืชเป็นผู้ผลิตก๊าซออกซิเจนจากการสังเคราะห์ด้วยแสง ก๊าซออกซิเจนที่ได้ถูกนำไปใช้ในการหายใจและการย่อยสลาย สารอินทรีย์ที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบอาจถูกทับถมในดินตะกอนจนกลายเป็นหิน ออกซิเจนในรูปนี้จะกลับสู่บรรยากาศเมื่อเกิดการผุกร่อนของหินซึ่งอาจจะอยู่ในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซออกซิเจน

วัฏจักรออกซิเจนแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน

  1. การสังเคราะห์ด้วยแสง
เป็นกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี โดยใช ้ H2O และ CO2 ซึ่งจะได้น้ำตาล ( CH2O)nและ O2เป็นผลิตภัณฑ์

light
6H2O + 6CO2      C6H12O6 (glucose) + 6O2  

 2. การหายใจแบบใช้ออกซิเจน
เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนพลังงานที่สะสมภายใน cell เป็นพลังงานความร้อน ซึ่งใช้ O2 ในปฏิกิริยาและให้ CO2 ดังนั้น ปฏิกิริยาการหายใจจึงเป็นปฏิกิริยาผันกลับของปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง